วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 19 มีนาคม 2555

อาจารย์นัดสอบสอน โดยให้แต่ละกลุ่มออกไปสอนทีละคนตามวันของตนเอง มีดังนี้
กลุ่ม 1 หน่วยไข่
กลุ่ม 2 หน่วยนม
กลุ่ม 3 หน่วยบ้าน
กลุ่ม 4 หน่วยมะม่วง
กลุ่ม 5 หน่วยนาฬิกา
กลุ่มของดิฉันสอน หน่วยบ้าน โดยดิฉันสอนวันอังคาร สอนเรื่อง ส่วนประกอบของบ้าน มีสื่อการสอนและกิจกรรมการสอน ดังรูป

สื่อการสอน

โมเดลบ้าน และ ภาพตัดต่อรูปบ้าน














กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
- นำภาพตัดต่อรูปบ้านมาแล้วใหเด็กออกมาติดรูปภาพบ้านให้สมบูรณ์
























ขั้นสอน
1. เด็กและครูสนทนาในภาพตัดต่อว่าบ้านมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
2. นำโมเดลบ้านมาให้เด็กดูพร้อมให้ตัวแทนออกมาหยิบชิ้นส่วน แล้วให้บอกว่าคืออะไร เช่น หลังคา เพดาน ประตู หน้าต่าง



























ขั้นสรุป
- เด็กและครูร่วมกันประกอบโมเดลบ้านใหม่อีกครั้ง โดยให้เด็กแต่ละคนออกมาหยิบส่วนประกอบของบ้านแต่ละชิ้นแล้วไปเดินเรียงเป็นแถวตามลำดับ แล้วประกอบโมเดลบ้านให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง




























สิ่งที่ได้จากการเรียน


จากการเรียน การสอนในวันนี้ทำให้ดิฉันรู้เทคนิควิธีการสอน ลำดับขั้นการสอนที่ควรจะเป็นมากขึ้นจากคำแนะนำของอาจารย์และทำให้รู้จักการสอนที่ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละวัย ซึ่งเทคนิคและวิธีการสอนที่เป็นลำดับขั้นจะทำให้การสอนของเราเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆถ้าเราใส่ใจ และหมั่นฝึกปฏิบัติให้มีความถนัดและคล่องแคล่วเราก็จะเป็นครูสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างชำนาญและถูกต้องตามหลักวิธีการสอนได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น








































































































































































































วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 มีนาคม 2555

อาจารย์นัดสอบปลายภาค นอกตาราง และให้ดูตัวอย่าง แผนการสอน Project Approach เรื่อง รถ อธิบายตัวอย่างผนการสอนให้ฟัง ได้พูดถึงกรอบพัฒนาการที่ควรมีและกิจกรรม ดังนี้
- พัฒนาการด้านร่างกาย

- พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ

- พัฒนาการด้านสังคม
- พัฒนการด้านสติปัญญา

การจัดกิจกรรม

- เริ่มจากประสบการณ์เดิมของเด็ก

- ให้ใช้คำถามเพื่อดึงประสบการณ์เดิมและใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด

- กิจกรรมประจำวัน


สิ่งที่ได้จากการเรียน
จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราว่ากรอบพัฒนาการที่ควรมีอะไรบ้าง คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนการด้านสติปัญญา และการการจัดกิจกรรมควรเริ่มจากประสบการณ์เดิมของเด็ก ให้ใช้คำถามเพื่อดึงประสบการณ์เดิมและใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด จากนั้นก็เป็นกิจกรรมที่จะจัดให้เด็กในการสอนตามหน่วยที่เราต้องการ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับตนเองเพื่อที่จะนำไปสอนเด็กเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ได้ดีที่สุด






วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์พูดเรื่องสาระทางคณิตศาสตร์เพื่อเข้าสู่การเขียนแผนในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ ซึ่งในสาระคณิตศาสตร์มี 6 สาระ อาจารย์จะยกตัวอย่างแผนของเพื่อนบางกลุ่มให้ฟังว่าจะเชื่องโยงคณิตศาสตร์อย่างไร ดังนี้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ เช่น การรวม การแยก

สาระที่ 2 : การวัด คือการหาค่าปริมาณ เช่น หาค่าส่วนสูง การชั่ง การตวง ระยะทาง การหาพื้นที่

สาระที่ 3 : เรขาคณิต เช่น รูปทรง 3 มิติ -> ความกว้าง ความยาว ความลึก รูปทรง 2 มิติ -> ความกว้างและความยาว มิติเดียว

สาระที่ 4 : พีชคณิต คือ รูปแบบและความสัมพันธ์ รูปแบบ คือ ตัวอย่างแบบเสมือนจริง เช่น แบบฟอร์มนักศึกษา

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ เช่น การนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เช่น การแก้ปัญหา

สิ่งที่ได้จากการเรียน
จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบมาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องเหมาะ เพื่อจะได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องเหมาะสม และมีอะไรบ้าง มาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์เป็นข้อความรู้ให้กับตัวเองเป็นอย่างมากและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์โดยตรง












วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์ให้เรียบเรียงแผนส่งและเข้าพบเป็นรายกลุ่มเพื่อปรึกษาเรื่องแผนให้ในแต่ละวันมีความสอดคล้องกัน และให้เขียนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสอนตามแผนการสอนของกลุ่มตนเองเพื่อใช้เบิกกับอาจารย์ ในการทำสื่อการสอนของกลุ่มตนเอง

สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่เด็กควรจะได้รับ และนำมาเป็นแนวทางในการเขียนแผนให้กับตนเอง เพื่อเด็กจะได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลายและจากการบูรณาการสอนของครูอีกด้วย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์พูดเรื่องแผนการสอน โดยให้แต่ละกลุ่มรวบรวมส่งและให้เข้าพบเพื่อส่งแผน ถ้ามีข้อแก้ไขอาจารย์จะแก้ไขให้และเขียนใหม่ จะได้เตรียมสื่อการสอนเพื่อจะได้สอนจริงในวันต่อไป ของดิฉันสอนในวันอังคาร เรื่อง ส่วนประกอบของบ้าน มีแผนดังนี้
















สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการเขียนแผนในแต่ละวันต้องมีเนื้อหาอะไรหลัง อะไรก่อน เพื่อให้มีความสอดคล้องกันในแต่ละวันเราจำและเป็นต้องทราบ ทั้ง 5 วัน เพื่อที่จะเชื่อมโยงกันได้ อีกทั้งเป็นแนวทางในการเขียนแผนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์พูดเรื่องแผนของแต่ละกลุ่ม หลังจากพูดเรื่องแผนเสร็จอาจารย์พูดถึง
- มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำของการเปลี่ยนพฤติกรรม
- มาตราฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 :
- การเข้าใจความหลากหลายและจำนวนในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิค
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
- การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม

และอาจารย์ได้พูดเรื่อง เกมการศึกษา ชนิดของเกมการศึกษา มีดังนี้
- ล็อตโต้
- จิ๊กซอ
- โดมิโน
- ความสัมพันธ์ 2 แกน
- พื้นฐานการบวก
- เรียงลำดับ
- มิติสัมพันธ์
และได้สั่งงาน ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนส่งอาทิตย์ถัดไปในแผนให้เขียนมายแม็บใส่ 6 กิจกรรมหลักมาด้วย

สิ่งที่ได้จากการเรียน
จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบมาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องเหมาะ เพื่อจะได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องเหมาะสม และได้รู้ว่าเกมการศึกษาแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง สามารถนำไปทำเกมการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยให้เด็กได้มีการพัฒนาด้านสติปัญญามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และเกมการศึกษา เป็นข้อความรู้ให้กับตัวเองเป็นอย่างมากและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญาและด้านอื่นๆได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 31 มกราคม 2555

อาจารย์ได้ถามว่า ตัวเด็ก แล้วนึกถึงอะไร
ตัวเด็ก สิ่งนึกถึง ร่างกาย ข้อมูลส่วนตัว เด็กดี ความสามารถ การเล่น อาหาร สิ่งที่เกี่ยวกับเด็ก
การเล่น พฤติกรรมเด็ก พัฒนาการเด็ก กิจวัตรประจำวัน ผลงานเด็ก ครอบครัว

ตัวเด็ก เอามาจากสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ซึ่งมี 4 ข้อ คือ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

- เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อส่งเสรืมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การรับรู้ คือ การซึมซับไว้

สิ่งที่หาเพิ่มเติม
สาระที่ควรเรียนรู้ ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว เด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้
- ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็นตัวฉันเอง เป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน รับประทานอาหาร ฯลฯ
- ฉันมีอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดี
- ฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
- ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่น
- ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่น ๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน
2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
- ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฯลฯ ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน
- สถานศึกษาของฉันมีชื่อ เป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับฟังความคิดเห็น และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
- ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
- ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มี วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย
3. ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว มีดังนี้
- ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้ำ หิน ดิน ทราย ฯลฯ มีรูปร่าง สี ประโยชน์ และโทษต่างกัน
- ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ฯลฯในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
- สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน เช่น บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
- สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์ อากาศบริสุทธิ์ ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่น ๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
- สิ่งต่าง ๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ
- การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่างๆ ตามขนาด จำนวน น้ำหนัก และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด ตำแหน่ง ลักษณะที่ตั้งได้
- คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น เงิน โทรศัพท์ บ้านเลขที่ ฯลฯ ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ ฯลฯ
- สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด สายวัด ถ้วยตวง ช้อนตวง เชือก วัสดุ สิ่งของอื่น ๆ บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือกะประมาณ
- เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
- ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฏจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
- ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน

สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนตามหลักสูตร ซึ่งในหลัสูตรจะบอกให้รู้ว่าควรจัดประสบการณ์อย่างไรให้เหมาะกับตัวเด็กมากที่สุด และนำมาเป็นแนวทางในการเขียนแผนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดีที่สุด