วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์ให้เรียบเรียงแผนส่งและเข้าพบเป็นรายกลุ่มเพื่อปรึกษาเรื่องแผนให้ในแต่ละวันมีความสอดคล้องกัน และให้เขียนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสอนตามแผนการสอนของกลุ่มตนเองเพื่อใช้เบิกกับอาจารย์ ในการทำสื่อการสอนของกลุ่มตนเอง

สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่เด็กควรจะได้รับ และนำมาเป็นแนวทางในการเขียนแผนให้กับตนเอง เพื่อเด็กจะได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลายและจากการบูรณาการสอนของครูอีกด้วย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์พูดเรื่องแผนการสอน โดยให้แต่ละกลุ่มรวบรวมส่งและให้เข้าพบเพื่อส่งแผน ถ้ามีข้อแก้ไขอาจารย์จะแก้ไขให้และเขียนใหม่ จะได้เตรียมสื่อการสอนเพื่อจะได้สอนจริงในวันต่อไป ของดิฉันสอนในวันอังคาร เรื่อง ส่วนประกอบของบ้าน มีแผนดังนี้
















สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการเขียนแผนในแต่ละวันต้องมีเนื้อหาอะไรหลัง อะไรก่อน เพื่อให้มีความสอดคล้องกันในแต่ละวันเราจำและเป็นต้องทราบ ทั้ง 5 วัน เพื่อที่จะเชื่อมโยงกันได้ อีกทั้งเป็นแนวทางในการเขียนแผนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555

อาจารย์พูดเรื่องแผนของแต่ละกลุ่ม หลังจากพูดเรื่องแผนเสร็จอาจารย์พูดถึง
- มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำของการเปลี่ยนพฤติกรรม
- มาตราฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 :
- การเข้าใจความหลากหลายและจำนวนในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิค
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
- การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม

และอาจารย์ได้พูดเรื่อง เกมการศึกษา ชนิดของเกมการศึกษา มีดังนี้
- ล็อตโต้
- จิ๊กซอ
- โดมิโน
- ความสัมพันธ์ 2 แกน
- พื้นฐานการบวก
- เรียงลำดับ
- มิติสัมพันธ์
และได้สั่งงาน ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนส่งอาทิตย์ถัดไปในแผนให้เขียนมายแม็บใส่ 6 กิจกรรมหลักมาด้วย

สิ่งที่ได้จากการเรียน
จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบมาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องเหมาะ เพื่อจะได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องเหมาะสม และได้รู้ว่าเกมการศึกษาแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง สามารถนำไปทำเกมการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยให้เด็กได้มีการพัฒนาด้านสติปัญญามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และเกมการศึกษา เป็นข้อความรู้ให้กับตัวเองเป็นอย่างมากและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญาและด้านอื่นๆได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 31 มกราคม 2555

อาจารย์ได้ถามว่า ตัวเด็ก แล้วนึกถึงอะไร
ตัวเด็ก สิ่งนึกถึง ร่างกาย ข้อมูลส่วนตัว เด็กดี ความสามารถ การเล่น อาหาร สิ่งที่เกี่ยวกับเด็ก
การเล่น พฤติกรรมเด็ก พัฒนาการเด็ก กิจวัตรประจำวัน ผลงานเด็ก ครอบครัว

ตัวเด็ก เอามาจากสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ซึ่งมี 4 ข้อ คือ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

- เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อส่งเสรืมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การรับรู้ คือ การซึมซับไว้

สิ่งที่หาเพิ่มเติม
สาระที่ควรเรียนรู้ ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว เด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้
- ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็นตัวฉันเอง เป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน รับประทานอาหาร ฯลฯ
- ฉันมีอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดี
- ฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
- ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่น
- ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่น ๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน
2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
- ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฯลฯ ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน
- สถานศึกษาของฉันมีชื่อ เป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับฟังความคิดเห็น และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
- ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
- ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มี วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย
3. ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว มีดังนี้
- ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้ำ หิน ดิน ทราย ฯลฯ มีรูปร่าง สี ประโยชน์ และโทษต่างกัน
- ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ฯลฯในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
- สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน เช่น บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
- สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์ อากาศบริสุทธิ์ ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่น ๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
- สิ่งต่าง ๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ
- การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่างๆ ตามขนาด จำนวน น้ำหนัก และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด ตำแหน่ง ลักษณะที่ตั้งได้
- คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น เงิน โทรศัพท์ บ้านเลขที่ ฯลฯ ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ ฯลฯ
- สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด สายวัด ถ้วยตวง ช้อนตวง เชือก วัสดุ สิ่งของอื่น ๆ บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือกะประมาณ
- เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
- ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฏจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
- ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน

สิ่งที่ได้จากการเรียน
ทำให้ทราบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนตามหลักสูตร ซึ่งในหลัสูตรจะบอกให้รู้ว่าควรจัดประสบการณ์อย่างไรให้เหมาะกับตัวเด็กมากที่สุด และนำมาเป็นแนวทางในการเขียนแผนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดีที่สุด
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 24 มกราคม 2555

อาจารย์ให้ออกไปเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปศึกษาสังเกตของแต่ละโรงเรียนจนครบทุกกลุ่ม
กลุ่มดิฉันโรงเรียนเกษมพิทยา ซึ่งมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและดีมากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่สามารถพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน ได้เป็นอย่างดี และอาจารย์ได้สั่งงาน คือ สมัครโทรทัศน์ครู แล้วสรุปในหัวข้อ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อีกอย่างคือ ให้พิมพ์ ชื่อ เลขที่ วันตามเลขที่และสีตามวัน โดยอาจารย์ให้นับจากเลขที่ 1 คือ วันอาทิตย์และต่อไปเรื่อยๆจนถึงวันของตนเองแล้วทำมาส่งอาทิตย์ถัดไป ดังภาพ





















สิ่งที่ได้จากการเรียน
ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลโรงเรียนของเพื่อน ทำให้เราทราบว่าโรงเรียนอื่นๆของเพื่อนมีความเหมือนและแตกต่างกับโรงเรียนของตนเองหรือไม่ อีกทั้งได้ข้อความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนของเพื่อนในสิ่งที่โรงเรียนของตนเองไม่มีและสามารถมาบูรณาการให้เข้ากันได้ในภายหน้าเมื่อเราไปฝึกสอนสามารถนำไปใช้ให้เข้ากันได้

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 5 - 19 มกราคม 2555

เนื่องจาก 2 สัปดาห์ คือวันที่ 5 มกราคม ถึง 19 มกราคม 2555 ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ ออกไปศึกษาสังเกต ในราย วิชาการฝึกปฏบัติวิชาชีพครู1 ที่โรงเรียนของตนเอง ซึ่งแต่ละคนได้ไปโรงเรียนไม่เหมือนกัน อยู่ที่ว่าใครจะได้โรงเรียนอะไร ดิฉันได้โรงเรียน "เกษมพิทยา" ซึ่งมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้อง และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้ (ดังภาพ)

มุมต่างๆภายในห้อเรียนมีมุมบทบาทสมมุติ มุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์ มุมนิทาน


































เล่นเครื่องเล่นสนามก่อนเข้าแถว
















เข้าแถวเคารพธงชาติ
















กิจกรรมบอกความดี





















กิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้า
















กิจกรรมเสริมประสบการณ์















กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ















กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์


































รับประทานอาหารกลางวัน



















นอนกลางวัน






















กิจกรรมเล่านิทานก่อนกลับบ้าน















กิจกรรมการแสดงนิทานทุกวันพุธ

















กิจกรรมเสริม คือ กิจกรรมเรียนโยคะ และการตรวจสุขภาพ

กิจกรรมเรียนโยคะ

















การตรวจสุขภาพ



















จากการไปศึกษาสังเกตนี้ ทำให้ทราบว่าการจัดประสบกาณ์ในเรื่องต่างๆให้กับเด็กปฐมวัย เราต้องคำนึงถึงหลายสิ่งหลายอย่าง และมีความรู้ ความเข้าใจและเทคนิควิธี ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างมาก เพราะเด็กแต่ละคนมีความแต่งต่างเราจึงมีวิธีที่ดีเพื่อที่จะพัฒนาให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน และในโรงเรียนนี้มีการจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีเป็นอย่างมาก เหมาะสมการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาที่ดีได้










































































































































































































































































































































































































































































บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ธันวาคม 2554

อาจารย์ตรวจBlog และตรวจมายแม็บของกลุ่ม อีกทั้งบอกสิ่งที่ต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม อาจารย์ได้เข้าสู่เนื้อหา ดังนี้

ทักษะที่เด็กได้รับ
- ภาษา
- คณิตศาสตร์
ประสบการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน
1. ด้านร่งกาย => กล้ามเนื้อ กายและการเคลื่อนไหว
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ => การแสดงออกทางอารมณ์
3. ด้านสังคม => การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การแสดงออก ความซื่อสัตย์
4. ด้านสติปัญญา => ภาษา การคิด มีการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงเหตุผล

สิ่งที่หาเพิ่มเติม
- พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
อารมณ์มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของเด็กทุกคน วัยเด็กเล็กเป็นระยะวิกฤตของพัฒนาการทางอารมณ์ การส่งเสริม และช่วยให้เด็กมีความสุข มีความปิติเบิกบานจะเป็นรากฐานสำคัญในการปรับตัวเวลาที่เป็นผู้ใหญ่ อารมณ์ของเด็กวัยนี้มักจะเป็นไปอย่างเปิดเผย การแสดงอารมณ์ของเด็กมักจะเกิดขึ้นอย่างปุบปับกะทันหัน แต่มักจะเปลี่ยนได้ง่าย อารมณ์ของเด็กวัยนี้ที่พบโดยทั่วไปก็คือ ความกลัว ความวิตกกังวล ความโกรธ ความอิจฉาริษยา เด็กวัยนี้ยังไม่มีการควบคุมอารมณ์ และมักจะเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการควบคุม เช่น เมื่อไรจะสมควรที่จะแสดงความโกรธหรือเมื่อไรจะร้องไห้ได้ ความกลัวของเด็กวัยนี้ อาจจะเกิดจากจินตนาการ เช่น อาจจะมีมโนภาพเกี่ยวกับสัตว์ประหลากลัวเป็นอันตรายและเจ็บตัว อย่างไรก็ตามความกลัวจากจินตนาการของเด็กจะลดลงตามอายุ นอกจากนี้เด็กจะมีความวิตกกังวลและความคับข้องใจเกี่ยวกับการทำอะไรไม่ได้สมดังปรารถนา เพราะขาดทักษะทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ความอิจฉาริษยา มักจะเกิดขึ้นจากการแข่งขันระหว่างเพื่อนร่วมวัย

- พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการด้านสังคม ซึ่งหมายถึง การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมวัยในระยะแรกของวัยอนุบาล เด็กมักจะชอบเล่นคนเดียว แต่เมื่อโตขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้นจะมีการร่วมมือเป็นมิตร และมีความเข้าใจในความรู้สึกของเพื่อนเพิ่มขึ้น จากการสังเกตเด็กเวลาเล่น พบว่าเด็กอายุ 4 ขวบจะใช้แรงเสริมในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยการตั้งใจฟัง การยอมรับเพื่อนโดยการแสดงความรักและให้คำชมเชย (Charlesworth and Hartup, 1967) พัฒนาการสังคมของเด็ก มักจะขึ้นกับการอบรมเลี้ยงดูทางบ้าน บางครอบครัวมักจะสนับสนุนพฤติกรรมที่ค่อนข้างก้าวร้าว แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรักและความอบอุ่นที่เด็กได้รับจากพ่อแม่ ทำให้เด็กกล้าที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กบางคนมาจากบ้านที่พ่อแม่ใช้อำนาจ และใช้การขู่ทำโทษอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กมีความกลัว ไม่กล้าที่จะอยู่ใกล้ และเมื่ออยู่โรงเรียน เด็กก็อาจจะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมวัย ครูจึงควรให้การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ถ้าพบเด็กที่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนก็ควรจะหาวิธีช่วย โดยพยายามให้แรงเสริมด้วยการชมเชยเวลาที่เห็นเด็กเล่นกับเพื่อน

- พัฒนาการทางร่างกาย
พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยนี้มีความก้าวหน้ามาก ทั้งทางด้านรูปร่างโดยทั่วไป ทั้งกล้ามเนื้อ และกระดูก ซึ่งสรุปได้โดยทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. เด็กวัยนี้สามารถที่จะบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี เดินได้อย่างคล่องแคล่วและสามารถวิ่งและกระโดดได้ ดังนั้น เด็กวัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง จึงจำเป็นที่ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้วิ่ง ปีนป่าย และกระโดด แต่ไม่ควรจะให้อิสระมาก ครูควรจะจัดกิจกรรมที่ครูสามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง และเนื่องจากเด็กวัยนี้ใช้พลังงานมากในการกระโดด ปีนป่าย และวิ่ง ครูจึงจำเป็นที่จะต้องจัดตารางสอนให้เด็กได้พักผ่อนด้วย
2. พัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่ มีความก้าวหน้ามากกว่าพัฒนาการกล้ามเนื้อย่อย ดังนั้น จะเห็นได้จากเด็กเล็กที่อายุราว ๆ 3 – 4 ปี จะจับดินสอไม่ถนัด แต่ก็ยังสามารถที่จะวาดวงกลมหรือรูปทรงเรขาคณิตบางอย่างได้ แต่ไม่เรียบนัก แต่ยิ่งเด็กอายุมากขึ้น ก็จะสามารถทำได้ดีขึ้นตามลำดับความแตกต่างระหว่างบุคคลจะเห็นได้ชัดในทักษะบางอย่าง เช่น ผูกเชือกรองเท้า หรือ ติดกระดุมเสื้อ ครูควรจะพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เด็กจะต้องใช้กล้ามเนื้อย่อย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือยังไม่สมบูรณ์นัก เด็กวัยนี้ยังมีความลำบากในการที่จะโฟกัสสายตา หรือเพ่งดูวัตถุที่เล็ก ๆ การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้จึงควรจะพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องการความละเอียด ประณีต ตัวหนังสือที่เขียนให้เด็กวัยนี้อ่านควรจะเขียนตัวโต ๆ ดินสอที่เด็กใช้ ก็ควรจะเป็นแท่งใหม่ และครูควรจะจัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสฝึกหัด เช่น ให้เด็กหัดใช้กรรไกรตัดกระดาษ เป็นต้น
4. ความแตกต่างระหว่างเพศ เกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกาย จะเห็นได้ช้า โดยทั่วไปเด็กชายจะมีรูปร่างโตกว่าเด็กหญิง แต่เด็กหญิงมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการทางด้านร่างกายมากกว่าทุกด้าน เป็นต้นว่า พัฒนาการทางกล้ามเนื้อย่อยสามารถจับของเล็กได้ดีกว่าเด็กชายมาก ครูควรระวังไม่ให้มีการแข่งขันระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงเกี่ยวกับทักษะที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อย่อย
5. แม้ว่าเด็กวัยนี้จะสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นตามอายุ เช่น ในการโยนลูกบอล เด็ก 3 ขวบจะยังทำไม่ได้ แต่ประมาณร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 4 ขวบจะทำได้ดี และ
เมื่อ อายุ 5 ขวบจะทำได้ราว ๆ ร้อยละ 74 ความสามารถในการปีนและกระโดดก็จะเป็นไปตามอายุ แต่สิ่งที่ควรจะระวังในวัยนี้ก็คือ ศีรษะ เพราะกระดูกกะโหลกศีรษะของเด็กยังอ่อน เวลาศีรษะกระทบของแข็งหรือในการสู้กันโดยให้ส่วนศีรษะกระทบกัน ก็อาจจะเป็นอันตรายด้วย ครูจะต้องอธิบายให้เด็กในวัยนี้ฟัง เพื่อเด็กเองก็จะได้รู้จักระวังตนเอง
6. ความถนัดในการใช้มือของเด็ก จะเห็นได้ชัดในวัยนี้ เด็กที่ถนัดมือซ้ายมักจะถูกล้อเลียน หรืออาจจะถูกพ่อแม่บังคับให้ใช้มือขวา ครูควรจะสังเกตความถนัดของเด็ก และควรจะอธิบายให้เด็กที่ถนัดซ้ายและเพื่อน ๆ ทราบว่าการถนัดซ้ายเป็นของธรรมดา คนถนัดซ้าย ไม่ได้ผิดปกติ ด้วยการยกตัวอย่างบุคคลที่เก่งและมีชื่อเสียง เช่น ไมเคิล แอนเจโล ศิลปินของอิตาลีที่มีชื่อเสียงของโลก ประธานาธิบดีจอร์ชบุช และประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยสรุปเด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่มีพัฒนาการทักษะทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กจะเพิ่มความสามารถในการเล่นต่าง ๆ ที่ต้องการทักษะทางด้านร่างกายขึ้นตามอายุ

- พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา(สติปัญญา)

ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในวัยนี้ มีดังต่อไปนี้

1. เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ สามารถที่จะใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของวัตถุและสถานที่ได้ มีทักษะในการใช้ภาษาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถที่จะอธิบายประสบการณ์ของตนได้ ดังนั้น ควรจะจัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสออกมาหน้าชั้นเล่าประสบการณ์ให้เพื่อน ร่วมชั้นฟัง แต่ครูควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
2. เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้างจินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูจะส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่อง หรือการวาดภาพ ก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็ก แต่บางครั้งเด็กอาจจะ ไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงจากความจริง ครูจะต้องพยายามช่วย แต่ไม่ควรจะใช้ การลงโทษเด็กว่าไม่พูดความจริง เพราะจะทำให้เป็นการทำลายความคิดคำนึงของเด็กโดยทางอ้อม
3. เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณาหลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน ซึ่งพีอาเจต์ เรียกว่า Centration เป็นต้นว่า เด็กจะไม่สามารถที่จะแบ่งกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ อย่างปนกัน ยกตัวอย่างการแบ่งกลุ่มของวัตถุที่รูปร่างทรงเรขาคณิตต่าง ๆ กัน เช่น สามเหลี่ยม วงกลม ฯลฯ จะต้องแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน ถ้าผู้ใหญ่จะรวมวงกลมและสามเหลี่ยมผสมกัน โดยยึดสีเดียวกันเป็นเกณฑ์ เด็กวัยนี้จะไม่เห็นด้วย
4. ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาวยังค่อนข้างสับสน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
จากการเรียนในวันนี้ ทำให้ทราบว่าทักษะที่เด็กได้รับและประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้พัฒนาด้านทั้ง 4 ด้าน ควรมีอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กปฐมวัยแต่ละคนมีความสามารถและการเรียนรู้ที่แตกต่างทำให้ครูต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคนได้ และจากการศึกษาเพิ่มเติมทำให้รู้ว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาทั้ง 4 ด้านเป็นอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดเป็นข้อความรู้และข้อมูลในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้