วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวามคม 2554

อาจารย์สอนเรื่อง ดังนี้
- แนวคิดนักการศึกษา
ฟลอเบล => เรียนรู้ผ่านการเล่น ลงมือปฎิบัติ
มอนเตสชอรี่ => ลงมือปฎิบัติตามระบบผ่านการเล่น (ใช้ประสาทสัมผัส)
จอนห์ดิวอี้ => Learning by doing เด็กเป็นศูนย์กลาง
- หลักการจัดประสบกาณ์คณิตศาสตร์
1. การนับ
2. การรู้จักตัวเลข
3. การชั่งตวงวัด
4. รูปร่างรูปทรง
5. พื้นที่
6. การเพิ่มและลดจำนวน
7. รู้จักความสัมพันธ์ ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8. การเปรีบยเทียบ
9. การจัดหมวดหมู่
10. การจำแนกประเภท
11. การเรียงลำดับ
12. เวลา

สิ่งที่หาเพิ่มเติม
หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถนี้
1.จำแนกประเภท
2.การจัดหมวดหมู่
3.การเรียงลำดับ
4.การเปรียบเทียบ
5.รูปร่างรูปทรง
6.พื้นที่
7.การชั่งตวงวัด
8.การนับ
9.การรู้จักตัวเลข
10.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11.เวลา
12.การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
ได้ทราบว่าหลักการทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เด็กจะได้รับประสบการณ์ที่ถูกต้องและเหมาะได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม 2554

อาจารย์สอนเรื่อง สิ่งที่เกี่ยวข้องในเรื่องคณิตศาสตร์ ดังนี้
- คณิตศาสตร์ใช้เพื่อในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ปัญหาและเปรียบเสมือนเครื่องมือในการเรียนรู้
- คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องใช้ของจริง ของจำลองและสัญลักษณ์ เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายต่อการเรียนรู้
- คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างกับคณิตศาสตร์ประถม เพราะ คณิตศาสตร์ระดับอนุบาลจะเป็นรูปธรรม ส่วนคณิตศาสตร์ระดับประถมจะเป็นนามธรรม
- คณิตศาสตร์ในชีวิตประวันของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ การเข้าแถว การออกกำลังกาย การจัดกลุ่มกิจกรรม การมาเรียนมามากมาน้อย เป็นต้น
- ในวันนี้ มีกิจกรรมในห้องเรียน คือ อาจารย์ให้บอกอธิบายว่า หน่วยที่เราได้ไปมีกิจกรรมคณิตศาสตร์เป็นอย่างไรให้บอกจนครบทุกกลุ่ม กลุ่มดิฉันได้ หน่วย ชุมชนของเรา มีกิจกรรม คือ เมื่อครูชูตัวเลขใดให้กลุ่มที่มีตัวเลขนั้นนั่งลง

สิ่งที่หาเพิ่มเติม
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูลกิจกรรมจะต้องกระตุ้นเด็กให้ใช้คณิตศาสตร์แก้โจทย์ปัญหา ได้ใช้การสื่อสารอธิบายความคิดทางคณิตศาสตร์ และสร้างแนวทางการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีกิจกรรมที่มีความหมายในการสร้างสังคมของเด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร โดยผ่านการตั้งคำถามและโต้ตอบเกี่ยวกับความคิดทางคณิตศาสตร์ และให้มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกราฟหรือภาพแสดงข้อมูล ซึ่งจะช่วยสร้างทักษะการเรียงลำดับ การจัดประเภท การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ในขณะที่เด็กรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ได้ทำการเปรียบเทียบและสรุปผล อาจทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล รวมถึงการทำการสำรวจสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและโรงเรียน มีกิจกรรมการจัดกลุ่มสิ่งของ การนับ การเขียนกราฟรูปภาพและใช้วิธีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและแสดงข้อมูลสิ่งที่คาดหวังมากที่สุด ก็คือ เมื่อผ่านปฐมวัย เด็กจะยังคงสนุกสนานกับการใช้ภาษาคณิตศาสตร์และใช้ได้อย่างถูกต้องและในการเล่นของเด็กก็จะแสดงถึงความก้าวหน้าในการใช้หลักการและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เด็กจะกระตือรือร้นที่จะจัดกระทำและทดลองกับสิ่งรอบๆ ตัวบล็อกจะถูกจัดเรียงตามรูปร่างหรือขนาด มีการเปรียบเทียบความกว้าง ยาว และความลึก ในการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น นั่นคือ ให้เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ให้ใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ได้ ให้สื่อสารคณิตศาสตร์เป็น ให้แก้ปัญหาได้ และมีความมั่นใจในความสามารถการทำคณิตศาสตร์ของตน ประสบการณ์ที่จัดต้องเป็นประสบการณ์ตรงที่เหมาะกับวัย มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก พัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน__คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยาด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
ในการเรียนวันนี้ทำให้ดิฉัน รู้ว่าคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับระดับประถมมีความแตกต่างกันอย่างไร และรู้ว่าในชีวิตประจำวันมีเรื่องที่เกี่ยวในด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้ดิฉันสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบกาณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างมากและจะนำไปปรับแก้ไขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2554

เป็นคาบแรกของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการฟื้นฟูเนื้อหา ความจำ ที่รู้มาบ้างแล้ว และมีการสอนในเรื่องดังนี้
บูรณาการ คือ การผสมผสานระหว่างกัน
รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยมี ดังนี้
1. บูรณาการ
2. Project Approach
3. ไฮสโคป
4. วอลดอร์ฟ
5. มอนเตสซอรี่
ทักษะที่ทำให้เด็กมีความรู้(เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้)
- ทักษะภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
- ทักษะทางคณิตศาสตร์

สิ่งที่หาเพิ่มเติม

มาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้ สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
บูรณาการ
หมายถึง การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนดลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ 5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้ ตามความเหมาะสม) ดังนี้(1)การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆ ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น(2)การบูรณาการระหว่างวิชา มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้ ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชา หรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้


Project Approach คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กรูปแบบหนึ่ง ที่ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องที่มีปรากฏในโลกแห่งความเป็นจริงและเป็นที่สนใจของเด็ก เรื่องที่เลือกเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่มีปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวันของเด็ก สามารถสำรวจ สืบค้น ศึกษาได้โดยง่ายในชุมชนระแวกบ้านและ/หรือโรงเรียนProject Approach เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย อีกทั้งยังสอดคล้องกับผลการวิจัยทางสมองเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก (Brain Based Learning) ด้วย ทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์
(Emotional Intelligence) นอกจากนั้น Project Approach ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีทางการ
เรียนการสอนหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นต้น

ไฮสโคป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็น พื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่าง เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลง มือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่ 1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น 2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เพียงพอ ที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย 3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนร ู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ ์เหล่านี้ด้วยตนเอง 4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้อง เรียนที่เด็กเรียนรู้ แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูด ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย 5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบ ลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้าง องค์ความรู้ของ เด็กเป็นเสมือนกรอบความคิด ที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือ กระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของ ความรู้ที่เด็กจะต้องหามา ให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบ การณ์สำคัญเป็นกรอบ ความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผน การจัดประสบ การณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม

การศึกษา วอลดอร์ฟ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (1861 -1925) นักปราชญ์ผู้ก่อตั้งการศึกษา วอลดอร์ฟ เกิดเมื่อปี ค.ศ.1861 ในฮังการี การศึกษาของเขาในช่วงต้นคือวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผลงานเขียนในระยะแรกเกี่ยวกับปรัชญาของคานต์ (Kant ) ต่อมาเขาได้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ปรัชญา และวรรณคดีและศึกษางานของเกอเธต์อย่างลึกซึ้งจนสามารถเป็นบรรณาธิการงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ของเกอเธต์และซิลเลอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง รูดอล์ฟ สไตเนอร์พัฒนาปรัชญาของเขาต่อมาอีกด้วยการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องทฤษฎีว่าด้วยความรู้ อันเป็นผลงานชิ้นสำคัญในชีวิตโดยได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ The Philosphy of Freedom " ปรัชญาแห่งความเป็นอิสระและหลุดพ้น " งานของเขาตั้งแต่นั้นจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตคือการศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และการแสวงหาความจริงของมนุษย์ปรัชญา (Anthroposophy)ซึ่งเขาพัฒนาขึ้นถือเป็นศาสตร์แห่งจิตวิญญาน( Spiritual Science)ที่ก้าวพ้นความจำกัดของการแสวงหาความจริงเฉพาะจากการรับรู้ที่เป็นรูปธรรมตามปรัชญาของคานต์ไปสู่การแสวงหาความจริงจากการรับรู้ของทั้งกายและจิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มิได้แยกจากอารมณ์ความรู้สึกแต่อยู่คู่กันอย่างกลมกลืนจะนำมนุษย์ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งนั่นคืออิสระและการหลุดพ้น มนุษย์ปรัชญานี้เป็นพื้นฐานการศึกษาของวอลดอร์ฟ
โรงเรียนของวอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงเวลาแห่งความลำบากของชาวเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชาวเยอรมันแสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมที่โหดร้ายทารุณต่อมนุษยชาติให้สิ้นไป เอมิล มอลต์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ วอลดอร์ฟแอสโทเรียที่สตุทการ์ท เป็นนักอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมเสียใหม่ในค.ศ.1919เขาได้เชิญสไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิดของเขาให้คนงานในโรงงานฟังและได้รับการร้องขอจากทางโรงงานให้เปิดโรงเรียนตามปรัชญาของเขาให้แก่บุตรหลานของคนงานรวมทั้งเปิดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย
การศึกษาวอลดอร์ฟเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามมนุษย์ปรัชญา (Anthroposophy) เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมให้สามารถพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การเคลื่อนตามปรัชญานี้ก่อให้เกิดการพัฒนาในศาสตร์สาขาต่างๆที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์เพื่อนำไปใช้ในโรงเรียน ชุมชนและสังคม ศาสตร์เหล่านั้นได้แก่ การแพทย์ เภสัชกรรม สถาปัตยกรรม เกษตรกรรม การธนาคารชุมชน วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแบบเกอเธต์ การละคร ดนตรีและศิลปะ ศิลปะการเคลื่อนไหวแบบยูริธมี การศึกษา การศึกษาพิเศษ ศิลปบำบัด จิตวิทยาการแนะแนวแบบร่วมมือ
ตลอดเวลา 80 ปี ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกขึ้น การศึกษาของวอลดอร์ฟ ได้แพร่หลายไปทั่วโลกปัจจุบันมีโรงเรียนอนุบาลตามแนวนี้ 087 โรง โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 640 โรง ศูนย์บำบัดกว่า300 แห่ง และสถาบันฝึกหัดครูกว่า 50 แห่ง ใน 56 ประเทศทั่วโลก
เป้าหมาย
เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตนแต่มนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนไม่ได้ถ้าเขายังไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆหลายส่วนในตนเองด้วยเหตุนี้การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเอง (อัตตา)แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิด
การศึกษาวอลดอร์ฟมุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฎิบัติอย่างพอเหมาะ


หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา

การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

ปรัชญาและหลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขา โดยการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก

2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้ มนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ ( the absorbent mind ) ในการพัฒนาของจิตที่ซึมซาบได้มีทั้งระดับที่เราทำไปโดยที่รู้สึกตัว และโดยไม่รู้สึกตัว อายุตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไร้ความรู้สึก โดยการพัฒนาประสาทที่ใช้ในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่าง

3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการเรียนรู้ในระยะแรกเป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง

5. การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบรูณ์ การมีอิสระนี้มอนเตสซอรี่กล่าวว่า ไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ ระเบียบวินัยของชีวิตโดยการมีอิสระภาพในการทำงานด้วยตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

การศึกษาด้วยตนเอง ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษา และควรจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลางในการเรียน

จุดมุ่งหมายของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ คือ “ ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย “ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขา ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการภายในความรู้สึกของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของชีวิต

มอนเตสซอรี่ กล่าวย้ำถึงสิทธิของเด็กในการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาในการเรียน สิทธิที่จะมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตัวของเขาเอง และก็เรียกร้องสิทธิในการที่จะมีสภาพการทำงานที่เหมาะสม
เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเอง และความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ เด็กเรียนรู้ในการที่จะรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องแรก แล้วก็ต่อสภาพการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เขาได้พบตัวของเขาเอง

การพัฒนาการทางสังคมสำเร็จได้ ก็ด้วยการมีชีวิตทางสังคมที่แท้จริงในห้องเรียน เด็กเรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ของแต่ละบุคคล และในสภาพของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมีส่วนร่วมในการที่จะต้องรับผิดชอบ และรู้จักที่จะรอคอยความสำเร็จของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และการปรับตัวทางด้านสังคมมีส่วนร่วมอยู่มาก บุคลิกภาพทั้งหมดของเด็กจะได้รับการพัฒนา … สติปัญญา ความสามารถในการแยกแยะ ความคิดริเริ่ม และการเลือกอย่างอิสระ มีอารมณ์ที่เหมาะสม เด็กได้รับการฝึกให้มีคุณภาพพื้นฐานทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นพลเมืองดี


สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
จากการเรียนในวันนี้ทำให้ทราบถึง รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า ควรจัดในรูปแบบใดบ้างให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และจากการหาข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ทราบว่าสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง ควรจัดอะไรบ้างให้กับเด็กให้เป็นไปตามลำดับและสิ่งที่เด็กควรรู้เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และอีกอย่างคือจากการหาข้อมูลเพิ่มเติมใน เรื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ทราบข้อมูลว่า การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ project approach ไฮสโคป วอลดอร์ฟ มอนเตสซอรี่ ว่ามีรูปแบบการจัดเป็นอย่างไรบ้างและสามารถเป็นแนวทางให้เราได้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี